เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 8 อนาปัตติวาร
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อุจจาระ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงคูถ
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ตรัสหมายถึงมูตร
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ตรัสหมายถึงขยะมูลฝอย
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ตรัสหมายถึงอามิสที่เป็นเดน กระดูกเป็นเดน หรือ
น้ำเป็นเดน
ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ ฝา 3 ชนิด คือ (1) ฝาอิฐ (2) ฝาแผ่นศิลา (3) ฝาไม้
ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง 3 ชนิด คือ (1) กำแพงอิฐ (2) กำแพงศิลา
(3) กำแพงไม้
คำว่า ภายนอกฝา คือ อีกด้านหนึ่งของฝา
คำว่า ภายนอกกำแพง คือ อีกด้านหนึ่งของกำแพง
คำว่า เท คือ เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เท คือ ใช้ผู้อื่นให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่
เทหลายครั้ง ภิกษุณีผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[827] 1. ภิกษุณีมองดูก่อนแล้วจึงเท
2. ภิกษุณีเทในที่ที่เขาไม่ใช้สัญจร
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :148 }