เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[822] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกดิบ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้1
คำว่า ออกปากขอ คือ ออกปากขอเอง
คำว่า ใช้ให้ออกปากขอ คือ ใช้ผู้อื่นให้ออกปากขอ
คำว่า คั่ว คือ คั่วเอง
คำว่า ใช้ให้คั่ว คือ ใช้ผู้อื่นให้คั่ว
คำว่า ตำ คือ ตำเอง
คำว่า ใช้ให้ตำ คือ ใช้ผู้อื่นให้ตำ
คำว่า หุง คือ หุงเอง
คำว่า ใช้ให้หุง คือ ใช้ผู้อื่นให้หุง
ภิกษุณีรับประเคน ด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
1 เรียกว่า “บุพพัณชาติ” (วิ.อ. 1/104/368, สารตฺถ.ฏีกา 2/104/176)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :144 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 อนาปัตติวาร
[823] 1. ภิกษุณีออกปากขอเขามาฉันเพราะเหตุผลคืออาพาธ
2. ภิกษุณีออกปากขออปรัณชาติ1
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. 1/104/368, สารตฺถ.ฏีกา
2/104/176)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :145 }