เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 นิทานวัตถุ
1. ลสุณวรรค

สิกขาบทที่ 7
ว่าด้วยการขอข้าวเปลือกดิบ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[820] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในฤดูเก็บเกี่ยว พวกภิกษุณี
ออกปากขอข้าวเปลือกดิบ นำไปในเมือง พอถึงประตูเมือง พวกคนเฝ้าประตูกักตัว
ไว้โดยกล่าวว่า “แม่เจ้า ท่านทั้งหลายโปรดให้ส่วนแบ่งบ้าง” แล้วปล่อยไป ครั้น
กลับถึงสำนักได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงออกปากขอข้าวเปลือกดิบเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึง
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีออกปากขอข้าว
เปลือกดิบจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงออกปากขอข้าว
เปลือกดิบ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[821] ก็ภิกษุณีใดออกปากขอหรือใช้ให้ออกปากขอ คั่วหรือใช้ให้คั่ว
ตำหรือใช้ให้ตำ หุงหรือใช้ให้หุงข้าวเปลือกดิบแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :143 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[822] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกดิบ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้1
คำว่า ออกปากขอ คือ ออกปากขอเอง
คำว่า ใช้ให้ออกปากขอ คือ ใช้ผู้อื่นให้ออกปากขอ
คำว่า คั่ว คือ คั่วเอง
คำว่า ใช้ให้คั่ว คือ ใช้ผู้อื่นให้คั่ว
คำว่า ตำ คือ ตำเอง
คำว่า ใช้ให้ตำ คือ ใช้ผู้อื่นให้ตำ
คำว่า หุง คือ หุงเอง
คำว่า ใช้ให้หุง คือ ใช้ผู้อื่นให้หุง
ภิกษุณีรับประเคน ด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
1 เรียกว่า “บุพพัณชาติ” (วิ.อ. 1/104/368, สารตฺถ.ฏีกา 2/104/176)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :144 }