เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 3 อนาปัตติวาร
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[803] ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด
เรื่องภิกษุณี 2 รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[804] ที่ชื่อว่า ใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด คือ ภิกษุณียินดีการสัมผัส โดย
ที่สุดใช้กลีบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[805] 1. ภิกษุณีสัมผัสเพราะอาพาธเป็นเหตุ1
2. ภิกษุณีวิกลจริต
3. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 คือจะบีบฝีหรือแผล (วิ.อ. 2/805/490)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :134 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 4 นิทานวัตถุ
1. ลสุณวรรค

สิกขาบทที่ 4
ว่าด้วยการใช้ท่อนยาง

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[806] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตนางสนมของพระราชาไปบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งถูกความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น จึงเข้าไปหาภิกษุณี(ผู้
เคยเป็นนางสนม)นั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
พระราชาเสด็จไปหาท่านนาน ๆ ครั้ง ท่านทนอยู่ได้อย่างไร”
ภิกษุณีนั้นตอบว่า “แม่เจ้า ดิฉันใช้ท่อนยาง”
ภิกษุณีนั้นถามว่า “แม่เจ้า ท่อนยางนี่เป็นอย่างไร”
ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้เคยเป็นนางสนมบอกท่อนยางแก่ภิกษุณีนั้น ต่อมา
ภิกษุณีนั้นใช้ท่อนยางแล้วลืมล้างวางทิ้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง ภิกษุณีทั้งหลายเห็นท่อน
ยางมีแมลงวันตอมจึงถามว่า “นี่เป็นการกระทำของใคร”
ภิกษุณีนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นี้เป็นการกระทำของดิฉันเอง”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้ท่อนยางเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้ท่อนยาง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :135 }