เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 1 อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[797] 1. ภิกษุณีฉันกระเทียมเหลือง1
2. ภิกษุณีฉันกระเทียมแดง
3. ภิกษุณีฉันกระเทียมเขียว
4. ภิกษุณีฉันกระเทียมต้นเดี่ยว
5. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกง
6. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในเนื้อ
7. ภิกษุณีฉันกระเทียมเจียวน้ำมัน
8. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในยำผักสด
9. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกงอ่อม
10. ภิกษุณีวิกลจริต
11. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 กระเทียมชนิดอื่นๆ มีลักษณะต่างจากกระเทียมมาคธิกะ เฉพาะสีและเยื่อเท่านั้น (วิ.อ. 2/797/488)
แต่พระวินัยปิฎก ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY กล่าวว่า คำว่า “กระเทียมเหลือง” หมายถึงหัวหอม
“กระเทียมแดง” หมายถึงหัวผักกาด “กระเทียมเขียว” หมายถึงสมอเหลือง (ดู The Book of the
Discipline Vol.III, PP 245, PTS.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :130 }