เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์
ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีถุลลนันทาโดยประการต่าง ๆ แล้ว
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[794] ก็ภิกษุณีใดฉันกระเทียม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[795] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กระเทียม พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงกระเทียมชื่อมาคธิกะ1
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[796] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “มาคธิกะ” เป็นชื่อเฉพาะของกระเทียมพันธุ์นี้ เพราะเกิดในแคว้นมคธ กระเทียมชนิดนี้ หนึ่ง
ต้นจะมีหลายหัวติดกันเป็นพวง ไม่ใช่หัวเดียว (วิ.อ. 2/795/488)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :129 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 1 อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกระเทียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[797] 1. ภิกษุณีฉันกระเทียมเหลือง1
2. ภิกษุณีฉันกระเทียมแดง
3. ภิกษุณีฉันกระเทียมเขียว
4. ภิกษุณีฉันกระเทียมต้นเดี่ยว
5. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกง
6. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในเนื้อ
7. ภิกษุณีฉันกระเทียมเจียวน้ำมัน
8. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในยำผักสด
9. ภิกษุณีฉันกระเทียมปรุงในแกงอ่อม
10. ภิกษุณีวิกลจริต
11. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 กระเทียมชนิดอื่นๆ มีลักษณะต่างจากกระเทียมมาคธิกะ เฉพาะสีและเยื่อเท่านั้น (วิ.อ. 2/797/488)
แต่พระวินัยปิฎก ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY กล่าวว่า คำว่า “กระเทียมเหลือง” หมายถึงหัวหอม
“กระเทียมแดง” หมายถึงหัวผักกาด “กระเทียมเขียว” หมายถึงสมอเหลือง (ดู The Book of the
Discipline Vol.III, PP 245, PTS.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :130 }