เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท1 ข้าพเจ้ายกขึ้น
แสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท
เหล่านั้นว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 2 ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 3 ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
นิสสัคคิยกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ

เชิงอรรถ :
1 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ของภิกษุณีมี 30 สิกขาบท ในภิกขุนีวิภังค์นี้แสดงเฉพาะอสาธารณสิกขาบท คือ
ภิกษุสงฆ์ไม่ต้องรักษาเพียง 12 สิกขาบท ที่เหลือ 18 สิกขาบท คือ
1. ปฐมกฐินสิกขาบทที่ 1 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
2. อุทโทสิตสิกขาบทที่ 2 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
3. ตติยกฐินสิกขาบทที่ 3 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
4. อัญญาตกวิญญัติสิกขาบทที่ 6 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
5. ตตุตตริสิกขาบทที่ 7 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
6. อุปักขฏสิกขาบทที่ 8 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
7. ทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ 9 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
8. ราชสิกขาบทที่ 10 แห่งจีวรวรรคของภิกษุสงฆ์
9. รูปิยสิกขาบทที่ 8 แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
10. รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ 9 แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
11. กยวิกกยสิกขาบทที่ 10 แห่งโกสิยวรรคของภิกษุสงฆ์
12. อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ 2 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
13. เภสัชชสิกขาบทที่ 3 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
14. จีวรอัจฉิทนสิกขาบทที่ 5 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
15. สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ 6 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
16. มหาเปสการสิกขาบทที่ 7 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
17. อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ 8 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์
18. ปริณตสิกขาบทที่ 10 แห่งปัตตวรรคของภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :126 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 1 นิทานวัตถุ
4. ปาจิตติยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ 166 สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยก
ขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

1. ลสุณวรรค
หมวดว่าด้วยกระเทียม

สิกขาบทที่ 1
ว่าด้วยการขอกระเทียม

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[793] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งปวารณาด้วย
กระเทียมกับภิกษุณีสงฆ์ไว้ว่า “กระผมขอปวารณาแม่เจ้าทั้งหลายที่ต้องการกระเทียม
ด้วยกระเทียม” และสั่งคนเฝ้าไร่ว่า “ถ้าภิกษุณีทั้งหลายมาก็จงถวายเธอไปรูปละ
2-3 กำ”
ครั้งนั้นมีมหรสพในกรุงสาวัตถี กระเทียมที่เขานำมาเก็บไว้ได้หมดลง ภิกษุณี
ทั้งหลายเข้าไปหาอุบาสกนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พวกเราต้องการกระเทียม”
อุบาสกนั้นกล่าวว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย กระเทียมไม่มี กระเทียมที่เขานำมาเก็บ
ไว้หมดแล้ว ท่านทั้งหลายโปรดไปที่ไร่”
ภิกษุณีถุลลนันทาไปที่ไร่แล้วให้นำกระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณ
คนเฝ้าไร่จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ๊ ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปที่ไร่แล้วให้นำ
กระเทียมไปเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้จักประมาณเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :127 }