เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[776] ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่า
เป็นของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของที่
เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ให้แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีได้ของที่สละแล้วคืนมาพึงรวมกับปัจจัยที่เขาถวายไว้

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของ
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[777] 1. ภิกษุณีนำกัปปิยภัณฑ์ที่เหลือไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
2. ภิกษุณีขออนุญาตเจ้าของก่อนจึงนำไปใช้เพื่อประโยช์อย่างอื่น
3. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
4. ภิกษุณีวิกลจริต
5. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :113 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 10 นิทานวัตถุ
1. ปัตตวรรค

สิกขาบทที่ 10
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายแก่บุคคล

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[778] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น
นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา คนจำนวนมากเข้าไปหาภิกษุณีถุลล
นันทานั้น สมัยนั้น บริเวณที่อยู่ของภิกษุณีถุลลนันทาชำรุด ชาวบ้านได้กล่าวกับ
ภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุไรบริเวณที่อยู่ของท่านจึงชำรุดเล่า”
นางตอบว่า “เพราะไม่มีทายก ผู้ก่อสร้างซ่อมแซมก็ไม่มี”
คนทั้งหลายจึงรวบรวมบริขารที่เขาให้ด้วยความพอใจเป็นค่าบูรณะบริเวณถวาย
ภิกษุณีถุลลนันทา แต่ภิกษุณีถุลลนันทาขอให้เอาบริขารนั้นแลกเปลี่ยนเภสัชเอง
แล้วบริโภค
พวกชาวบ้านทราบเรื่องเข้า จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่นเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้เอาบริขาร
ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขา
บริจาคแก่บุคคลที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :114 }