เมนู

ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ 03 วินัยปิฎกที่ 03 ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 นิทานวัตถุ

พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ปาราชิกกัณฑ์

ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 (1)
ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไปของชาย

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา

[656] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นายสาฬหะหลานของนาง
วิสาขา มิคารมาตา2ประสงค์จะสร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ นายสาฬหะหลานของ
นางวิสาขามิคารมาตาจึงเข้าไปแจ้งความประสงค์แก่ภิกษุณีว่า “กระผมต้องการจะ
สร้างวิหารถวายภิกษุณีสงฆ์ ท่านทั้งหลายโปรดให้ภิกษุณีผู้ดูแลการก่อสร้างสัก 1
รูปเถิด ขอรับ”

เชิงอรรถ :
1 ถ้านับรวมกับสาธารณบัญญัติ คือที่ภิกษุต้องรักษาด้วย สิกขาบทนี้จัดเป็นสิกขาบทที่ 5
2 คำว่า “มิคารนตฺตา” แปลได้ 2 นัย ในที่นี้ แปลว่า หลานของนางวิสาขามิคารมาตา ตาม
อธิบาย (วิ.อ. 2/656/462, สารตฺถ.ฏีกา 3/656/137) ส่วนในพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หลาน
ของมิคารเศรษฐี (องฺ.ติก. 20/67/189) ตามอธิบาย (องฺ.ติก.อ. 2/67/204)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :1 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 นิทานวัตถุ
สมัยนั้น มีหญิงสาว 4 คนพี่น้องบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี คือนันทา นันทวดี
สุนทรีนันทา ถุลลนันทา ในจำนวน 4 รูปนี้ ภิกษุณีสุนทรีนันทาบวชตั้งแต่วัยสาว
มีรูปงามน่าดู น่าชม เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ขยัน ไม่เกียจคร้าน
ประกอบด้วยปัญญาไตร่ตรองในงานนั้น ๆ สามารถกระทำ สามารถจัดแจงได้
ภิกษุณีสงฆ์จึงแต่งตั้งภิกษุณีสุนทรีนันทาให้เป็นผู้ดูแลการก่อสร้างของนายสาฬหะ
หลานของนางวิสาขามิคารมาตา
ครั้งนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทานั้นไปบ้านนายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคาร
มาตาเนือง ๆ บอกว่า “ท่านจงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว” ฝ่าย
นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาก็หมั่นไปสำนักภิกษุณีอยู่เนือง ๆ เพื่อให้
รู้งานที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ คนทั้งสองนั้นมีจิตรักใคร่ต่อกันเพราะพบเห็นกันเนืองๆ
นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาเมื่อไม่ได้โอกาสที่จะทำมิดีมิร้าย
ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้จัดเตรียมภัตตาหารสำหรับถวายภิกษุณีสงฆ์เพื่อหาทางที่
จะประทุษร้ายนางนั้น เมื่อจะปูอาสนะในโรงฉัน ปูอาสนะไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วย
คิดว่า “ภิกษุณีจำนวนเท่านี้มีพรรษาแก่กว่าแม่เจ้าสุนทรีนันทา” ปูอาสนะไว้ ณ
ส่วนข้างหนึ่งด้วยคิดว่า “ภิกษุณีจำนวนเท่านี้มีพรรษาอ่อนกว่า” ปูอาสนะไว้สำหรับ
ภิกษุณีสุนทรีนันทา ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในที่มิดชิด มีที่กำบัง เพื่อให้ภิกษุณีผู้เป็นเถระ
เข้าใจว่า “ภิกษุณีสุนทรีนันทานั่งอยู่กับพวกภิกษุณีนวกะ” แม้ภิกษุณีนวกะก็จะ
เข้าใจไปว่า “ภิกษุณีสุนทรีนันทานั่งอยู่กับพวกภิกษุณีผู้เป็นเถระ” ครั้นแล้วนาย
สาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตาจึงให้คนไปเรียนภิกษุณีสงฆ์ว่า “แม่เจ้า ได้
เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ภิกษุณีสุนทรีนันทาสังเกตรู้ว่า “นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตา
เตรียมการไว้มาก มิใช่เพียงจัดภัตตาหารถวายภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น แต่ประสงค์ที่จะ
ทำมิดี มิร้ายเรา ถ้าเราไปก็ต้องมีเรื่องอื้อฉาวแน่” จึงสั่งภิกษุณีอันเตวาสินีไปว่า
“เธอจงไปนำบิณฑบาตมาให้เรา ถ้ามีผู้ถามถึงเรา จงตอบว่าเราเป็นไข้”
ภิกษุณีนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของภิกษุณีสุนทรีนันทา
เวลานั้น นายสาฬหะหลานของนางวิสาขามิคารมาตายืนคอยที่ซุ้มประตูด้าน
นอก ถามถึงภิกษุณีสุนทรีนันทาว่า “แม่เจ้าสุนทรีนันทาไปไหน ขอรับ แม่เจ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :2 }