เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 2.โกสิยวรรค 5.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า 1 คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรอง
นั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า 1 คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตรองนั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอา
สันถัตเก่า 1 คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :94 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 2.โกสิยวรรค 5.นิสีทนสันถตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[569] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[570] 1. ภิกษุเอาสันถัตเก่า 1 คืบสุคตโดยรอบมาทำ
2. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้จึงเอาแต่น้อยมาทำ
3. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้เลยไม่เอามาทำ
4. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
5. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
6. ภิกษุวิกลจริต
7. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :95 }