เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[654] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นไข้ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ
บ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุผู้เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ถ่ายอุจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา
บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

1. ภิกษุไม่จงใจ 2. ภิกษุไม่มีสติ
3. ภิกษุผู้ไม่รู้ 4. ภิกษุผู้เป็นไข้
5. ภิกษุถ่ายบนบก แต่ไหลลงน้ำ 6. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
7. ภิกษุวิกลจริต 8. ภิกษุจิตฟุ้งซ่าน
9. ภิกษุถูกเวทนาบีบคั้น 10. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 15 จบ
ปาทุกาวรรคที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :734 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 2 “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 3 “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เสขิยะ จบ
เสขิยกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :735 }