เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 7.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ 9
ครั้งนั้น มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
บุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น พอดี
พระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่ง
บนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระราชาองค์นี้ประทับ
นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์ ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบน
อาสนะตํ่าสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่
ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริง การ
กระทำดังนี้ล้วนตํ่าทราม’ จึงไต่ลงมา ณ ที่นั้นกล่าวว่า
‘คนทั้ง 2 คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์
และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม
ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม
พราหมณ์กล่าวว่า
‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด ฉะนั้น
จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’
บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า
‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ
พฤติกรรมเช่นนั้น
นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกตํ่า
และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ
การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์
ท่านมหาพราหมณ์ ท่านรีบไปเสียเถิด
แม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้
ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน
เหมือนหม้อนํ้าแตก’1
เรื่องภรรยาของบุรุษจันฑาล จบ

เชิงอรรถ :
1 อรรถกถาอธิบายว่า “ถ้าท่านไม่หนีไปจากที่นี้ ยังจะประพฤติความไม่ชอบธรรมอยู่ ท่านผู้ประพฤติความ
ไม่ชอบธรรมนั่นแหละจะแตก เหมือนก้อนหิน(หล่น)ทับหม้อนํ้าแตก (วิ.อ. 2/647/458)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :726 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 7.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ 9
ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะตํ่า สอนมนต์พระราชา
ผู้ประทับนั่งบนอาสนะสูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนบัดนี้ การที่ภิกษุนั่งบนอาสนะ
ตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จึงจักเป็นที่พอใจของเราเล่า” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
9. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบน
อาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

1. ภิกษุไม่จงใจ 2. ภิกษุไม่มีสติ
3. ภิกษุผู้ไม่รู้ 4. ภิกษุผู้เป็นไข้
5. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง 6. ภิกษุวิกลจริต
7. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :727 }