เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 6.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ 4
สิกขาบทที่ 4

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[630] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียริม
ฝีปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
4. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

1. ภิกษุไม่จงใจ 2. ภิกษุไม่มีสติ
3. ภิกษุผู้ไม่รู้ 4. ภิกษุผู้เป็นไข้
5. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง 6. ภิกษุวิกลจริต
7. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :707 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 6.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ 5
สิกขาบทที่ 5

เรื่องพระหลายรูป
[631] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม
ที่ปราสาทโกกนท พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงใช้มือเปื้อนอาหาร
จับภาชนะนํ้าดื่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับ
ภาชนะนํ้าดื่มจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงใช้มือ
เปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่มเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
5. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
เรื่องพระหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :708 }