เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 3.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ 9
สิกขาบทที่ 9

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[604] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อรับ
บิณฑบาต รับเอาแต่แกงเท่านั้น ฯลฯ

พระบัญญัติ
9. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง1
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ แกง 2 ชนิด คือ (1) แกงถั่วเขียว (2) แกงถั่วเหลือง
ที่ใช้มือหยิบได้
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
1 บิณฑบาต คือ ภัตตาหารที่มีแกงผสมอยู่ประมาณ 1 ใน 4 ส่วน คือ บิณฑบาต 3 ส่วน แกง 1 ส่วน ชื่อว่า
บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง (วิ.อ. 2/604/451)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :678 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [7.เสขิยกัณฑ์] 3.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ 9

1. ภิกษุไม่จงใจ 2. ภิกษุไม่มีสติ
3. ภิกษุผู้ไม่รู้ 4. ภิกษุผู้เป็นไข้
5. ภิกษุรับแกงหลายอย่าง 6. ภิกษุรับของญาติ
7. ภิกษุรับของผู้ปวารณา 8. ภิกษุรับเพื่อผู้อื่น
9. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 10. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
11. ภิกษุวิกลจริต 12. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :679 }