เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 10.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นั้น
เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ไม่พึงกล่าวว่า “จงให้แก่ผู้นั้น” หรือว่า “ผู้นั้นจะ
เก็บไว้” หรือ “ผู้นั้นจะแลก” หรือ “ผู้นั้นจักซื้อ”
ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วพึงเข้าไปหาภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมตกลง
กับคนที่ท่านแนะว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์
ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวง
หรือเตือน 2-3 ครั้งว่า “อาตมาต้องการจีวร” ไม่พึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงให้
จีวรแก่อาตมา นำจีวรมาให้อาตมา แลกจีวรให้อาตมา หรือจงซื้อจีวรให้อาตมา”
แม้ครั้งที่ 2 ก็พึงกล่าวกับเขา แม้ครั้งที่ 3 ก็พึงกล่าวกับเขา ถ้าให้เขาจัดการ
สำเร็จได้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ในที่นั้น ไม่พึงนั่งบน
อาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าว
กับเขาว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า
ตัดโอกาส1 แม้ครั้งที่ 2 ก็พึงยืน แม้ครั้งที่ 3 ก็พึงยืน ทวง 4 ครั้งพึงยืนได้ 4 ครั้ง
ทวง 5 ครั้งพึงยืนได้ 2 ครั้ง ทวง 6 ครั้งแล้วไม่พึงไปยืน2 ถ้าเธอพยายามยิ่งกว่านั้น
ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมให้
เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน 3 ครั้ง ยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
1 ตัดโอกาส คือ ตัดเหตุแห่งการมา (อาคตการณํ ภฺชติ วิ.อ. 2/538-539/181)
2 ทวง 1 ครั้งมีค่าเท่ากับยืน 2 ครั้ง (วิ.อ. 2/538-539/181)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :67 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 10.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน 3 ครั้ง ยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการ
ทวงเกิน 3 ครั้ง ยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
ถ้าทำไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไปในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา
กล่าวว่า “ทรัพย์ที่ท่านส่งไปเจาะจงภิกษุรูปใด ไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุ
รูปนั้นเลย ท่านจงทวงทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าฉิบหายเลย”
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :68 }