เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 10.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด
จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป
ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป
เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง
ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร
ในเรื่องนั้น

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[539] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ
ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์
ชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว
หรือแก้วผลึก)
คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน
คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น
ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต
นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร
ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :66 }