เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [6.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] 4.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[572] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ
ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืน
ธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุผู้ป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[573] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ เสนาสนะ1
มีระยะ 500 ชั่วธนูเป็นอย่างตํ่า
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ถูก
พวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรทุบตี
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในเสนาสนะเช่นนั้น คือ เสนาสนะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน คือ ถึงจะแจ้งแก่สหธรรมิกทั้ง 5 นี้ชื่อว่าไม่
ได้รับแจ้งไว้
แจ้ง(ในที่อื่น) เว้นอาราม อุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่ได้รับแจ้งไว้

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเสนาสนะที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 25 เส้น (ดู เชิงอรรถ ข้อ 566 หน้า 92 ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :644 }