เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [6.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] 1.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[553] ก็ ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจากมือของ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้าน เคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
“ท่าน กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ
กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[554] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย
ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสี่แยก เรือน
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ 5 ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ 5 คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :629 }