เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 9.รตนวรรค 1.อันเตปุรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ 9 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(10) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่คับคั่งด้วย
ช้าง เป็นสถานที่คับคั่งด้วยม้า เป็นสถานที่คับคั่งด้วยรถ เป็นสถานที่มีรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เหมาะแก่บรรพชิต ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นโทษข้อที่ 10 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ 10 อย่างนี้แล”

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการ
ต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความเป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[498] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไปใน
ตำหนักที่บรรทมของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชา
ยังไม่เสด็จออก ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[499] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :590 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 9.รตนวรรค 1.อันเตปุรสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า กษัตริย์ คือ ได้แก่ กษัตริย์ผู้ประสูติมาดีทั้งฝ่ายพระมารดาและพระ
บิดา ทรงถือกำเนิดบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครตำหนิชาติกำเนิดได้
ที่ชื่อว่า ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว คือ ผู้ได้รับอภิเษกโดยการอภิเษกเป็นกษัตริย์
คำว่า ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก คือ พระราชายังไม่เสด็จออกจาก
ตำหนักที่บรรทม
คำว่า ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจากตำหนัก
ที่บรรทม หรือทั้ง 2 พระองค์ยังไม่เสด็จออก
คำว่า ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า คือ ไม่ได้เรียกมาล่วงหน้า
ที่ชื่อว่า ธรณีประตู พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงธรณีประตูตำหนักที่บรรทม
ที่ชื่อว่า ตำหนักที่บรรทม ได้แก่ ที่บรรทมของพระราชาซึ่งเจ้าพนักงานจัดไว้
ในที่ใดที่หนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระวิสูตร
คำว่า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป คือ ภิกษุยกเท้าแรกก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติทุกกฏ ยกเท้าที่ 2 ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[500] ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งแล้ว ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :591 }