เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 9.รตนวรรค 1.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
(4) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อความลับทางราชการที่ปรึกษาในพระ
ราชฐานชั้นในรั่วไหลออกไปภายนอก ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า
“ในที่นี้ นอกจากบรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ 4 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(5) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ในพระราชฐานชั้นใน พระราชโอรส
ปรารถนา(ที่จะปลงพระชนม์)พระราชบิดา1 หรือพระราชบิดาปรารถนา(ที่จะปลง
พระชนม์)พระราชโอรส ทั้ง 2 พระองค์จะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ นอกจาก
บรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นโทษข้อที่ 5 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(6) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงเลื่อนข้าราชการตำแหน่งตํ่าขึ้น
ตำแหน่งสูง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่
กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ 6
ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(7) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงลดตำแหน่งข้าราชการที่อยู่ใน
ตำแหน่งสูงลงตำแหน่งตํ่า พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชา
ทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
โทษข้อที่ 7 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(8) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาไม่ควร
พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต
คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ 8 ในการเข้าไปยัง
พระราชฐานชั้นใน
(9) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาอัน
ควรแล้วรับสั่งให้ยกทัพกลับเสียในระหว่างทาง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิด

เชิงอรรถ :
1 ปรารถนาพระราชบิดา อรรถกถาอธิบายว่า ปิตรํ ปตฺเถตีติ อนฺตรํ ปสฺสิตฺวา ฆาเตตุํ อิจฺฉติ แปลว่า
ต้องการหาช่องทางปลงพระชนม์พระราชบิดา (วิ.อ.2/497/434)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :589 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 9.รตนวรรค 1.อันเตปุรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ 9 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(10) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่คับคั่งด้วย
ช้าง เป็นสถานที่คับคั่งด้วยม้า เป็นสถานที่คับคั่งด้วยรถ เป็นสถานที่มีรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เหมาะแก่บรรพชิต ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นโทษข้อที่ 10 ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ 10 อย่างนี้แล”

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการ
ต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความเป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[498] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไปใน
ตำหนักที่บรรทมของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชา
ยังไม่เสด็จออก ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[499] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :590 }