เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 9.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้ฉันทะไปแล้ว
กลับติเตียน ไม่ต้องอาบัติ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[478] 1. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สงฆ์ทำกรรมไม่ชอบธรรม แยกกันทำ หรือทำแก่
ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม” จึงติเตียน
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :573 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 10.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท นิทานวัตถุ
8. สหธรรมิกวรรค

10. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[479] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์ประชุมกันด้วยกรณียกิจบาง
อย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ต่อมา
สงฆ์ตั้งญัตติว่า “สงฆ์ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่กรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวว่า “ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป
อย่างนี้ พวกท่านจะทำกรรมแก่ใครกันเล่า” ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์
ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อ
ยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :574 }