เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 9.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[475] ก็ ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนใน
ภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[476] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ได้แก่ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
และญัตติจตุตถกรรม ที่สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรม
ที่ทำถูกต้อง
ภิกษุให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[477] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้ฉันทะไป
แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :572 }