เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 5.ตลสัตติกสิกขาบท บทภาชนีย์
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[455] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[456] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือ ความว่า ภิกษุเงื้อกาย ของเนื่องด้วยกาย หรือโดย
ที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[457] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือ
ฝ่ามือ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :560 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 5.ตลสัตติกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[458] 1. ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะพ้นจึงเงื้อหอกคือฝ่ามือ
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตลสัตติกสิกขาบทที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :561 }