เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 5.ตลสัตติกสิกขาบท นิทานวัตถุ
8. สหธรรมิกวรรค

5. ตลสัตติกสิกขาบท
ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[454] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจเงื้อหอกคือฝ่ามือ(จะทำร้าย)1พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
เหล่านั้นกลัวการทำร้ายจึงร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ
ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้พวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ
เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ

เชิงอรรถ :
1 ปหารทานาการํ ทสฺเสตฺวา คือแสดงอาการจะทำร้าย (วิ.อ. 2/454/430)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :559 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 5.ตลสัตติกสิกขาบท บทภาชนีย์
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[455] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[456] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือ ความว่า ภิกษุเงื้อกาย ของเนื่องด้วยกาย หรือโดย
ที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[457] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือ
ฝ่ามือ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :560 }