เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 10.กัณฏกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ยืนยันอยู่อย่างนั้น สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า
“สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะ
ไม่มีการนอนร่วมกัน 2-3 คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้
เธอจงไปที่อื่น1 เธอจงไปให้พ้น” ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูก
สงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[430] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ สมณุทเทสกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่ สมณุทเทสผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
พวกภิกษุที่ได้เห็นได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนสมณุทเทสนั้นว่า “สมณุทเทส
เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัส
ธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้น
ก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้เป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “จงไปที่อื่น” แปลมาจากคำว่า “จร ปิเร” ตามนัยฎีกาว่า จร ปิเรติ ปรโต คจฺฉ, มา อิธ ติฏฺฐ
(สารตฺถ.ฏีกา 3/428/111) จงไปทางอื่น อย่าอยู่ที่นี้, อีกนัยหนึ่งว่า ปิเรติ ปร อมามก (วิ.อ. 2/428/
421) อมฺหากํ อนชฺฌตฺติกภูต (สารตฺถ.ฏีกา 3/428/110) โอวาทสฺส อปฏิคฺคหเณน
อติกฺกมเนน อมามกา ปเร นาม (ขุ.ธ.อ. 1/5/58) เธอเป็นคนอื่นผู้ไม่นับถือพระรัตนตรัย, มิได้อยู่
ในวงศ์ของพวกเรา เพราะไม่รับโอวาท เพราะล่วงละเมิดโอวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :540 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 10.กัณฏกสิกขาบท บทภาชนีย์
อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึง
อ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่มีการนอนร่วมกัน 2-3 คืนกับภิกษุ
ทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่อื่น เธอจงไปให้พ้น”
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือสมณุทเทส
นั้นบอก
คำว่า ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น คือ ถูกสงฆ์ให้ฉิบหายแล้วอย่างนั้น
ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร
คำว่า ปลอบโยน คือ ภิกษุปลอบโยนว่า “เราจะให้บาตร จีวร อุทเทส
หรือปริปุจฉาแก่สมณุทเทสนั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คือ ภิกษุยินดีจุรณ ดินเหนียว ไม้สีฟัน หรือ
น้ำบ้วนปากของสมณุทเทสนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา 2 อย่าง คือ
(1) คบหาทางอามิส (2) คบหาทางธรรม
ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ บท
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นอักษร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร
คำว่า นอนร่วม อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์
นาสนะนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :541 }