เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 10.กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่าง
โครงกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือน
ผลไม้คาต้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ใน
กามนี้มีโทษอย่างยิ่ง”
สมณุทเทสชื่อว่ากัณฏกะถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือน แต่ก็ยังกล่าวด้วยความยึด
มั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผม
รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะจากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้น
แล้วภิกษุทั้งหลายจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง
กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สั่งนาสนะกัณฏกสมณุทเทส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามสมณุทเทสชื่อกัณฏกะว่า “กัณฏกะ ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่
เธอว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้
จริงไม่ จริงหรือ” สมณุทเทสชื่อกัณฏกะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น พระพุทธ
เจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :537 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 10.กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่าง
ยิ่ง เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก ฯลฯ เรากล่าวว่ากาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง
หญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าว
ว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อ
ว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอ
ตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดง
ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงนาสนะ1
สมณุทเทสชื่อกัณฏกะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงนาสนะ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะอย่างนี้
ว่า “กัณฏกะ ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่
มีการนอนร่วมกัน 2-3 คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่
อื่น เธอจงไปให้พ้น” ดังนี้ ครั้งนั้นแล สงฆ์ได้นาสนะสมณุทเทสชื่อกัณฏกะแล้ว
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูก
สงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้าง

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “นาสนะ” แปลว่า ให้ฉิบหาย ได้แก่ การลงโทษภิกษุ มี 3 วิธี คือ (1) ลิงคนาสนะ ให้สึก
(2) ทัณฑกรรมนาสนะ ไล่ออกจากสำนัก (3) สังวาสนาสนะ ยกออกจากหมู่ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะนี้
ถูกลงโทษโดยการไล่ออกจากสำนัก (วิ.อ. 2/428/420-421)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :538 }