เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 9.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กับ...ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น คือ ร่วมกับผู้ที่ยังไม่ยอมสละความเห็นนั้น
คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา 2 อย่างคือ
(1) คบหาทางอามิส (2) คบหาทางธรรม
ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ บท
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นอักษร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ อักษร
คำว่า อยู่ร่วม ความว่า ภิกษุทำอุโบสถ ปวารณา หรือสังฆกรรมร่วมกับ
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอนร่วมกับ อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน ภิกษุ
ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอน
ทั้ง 2 รูป ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[426] ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :534 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 9.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[427] 1. ภิกษุรู้ว่า ภิกษุนั้นไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
2. ภิกษุรู้ว่า “ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม แต่สงฆ์เรียกเข้า
หมู่แล้ว”
3. ภิกษุรู้ว่า “ภิกษุนั้น ยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว”
4. ภิกษุวิกลจริต
5. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :535 }