เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 8.อุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[529] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วตาแมว
แก้วผลึก ผ้า ด้ายหรือฝ้าย
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า ให้...ครอง คือ ถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ ได้แก่ ภิกษุรูปที่เขาตระเตรียม
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไว้ถวายโดยเฉพาะ
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะซื้อจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไป คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้เป็นผ้ายาว กว้าง เนื้อแน่นหรือ
เนื้อละเอียด
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า เช่นนั้นเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า จงให้ครอง คือ จงถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :53 }