เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 8.อริฏฐสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[419] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
พวกภิกษุที่ได้เห็น ได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุนั้นว่า “ท่านอย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระ
ผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็น
ธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้
ครั้งที่ 3 ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายพึงนำตัวภิกษุนั้นมาท่ามกลางสงฆ์แล้วว่ากล่าวตักเตือนว่า
“ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรม
ที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็
สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :529 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 8.อริฏฐสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[420] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อ
นี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า
‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นถึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอกล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอกล่าว
ความนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่อนี้
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละทิฏฐินั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :530 }