เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 8.อริฏฐสิกขาบท พระบัญญัติ
ชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าว
ว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนความฝัน ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรา
กล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว
ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึด
ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อ
นั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[418] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
ว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดย
ประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง”
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ 3 ครั้ง เพื่อให้สละทิฏฐินั้น
ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ 3 ครั้ง สละทิฏฐินั้นได้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เรื่องพระอริฏฐะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :528 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 8.อริฏฐสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[419] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
พวกภิกษุที่ได้เห็น ได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุนั้นว่า “ท่านอย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระ
ผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็น
ธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้
ครั้งที่ 3 ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายพึงนำตัวภิกษุนั้นมาท่ามกลางสงฆ์แล้วว่ากล่าวตักเตือนว่า
“ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรม
ที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็
สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :529 }