เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 7.สังวิธานสิกขาบ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[416] 1. ภิกษุเดินทางโดยไม่ได้ชักชวน
2. มาตุคามชักชวน แต่ภิกษุไม่ได้ชักชวน
3. ภิกษุไปผิดเวลานัดหมาย
4. ภิกษุผู้เดินทางกับมาตุคามในคราวมีเหตุขัดข้อง
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังวิธานสิกขาบทที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :524 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 8.อริฏฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
7. สัปปาณกวรรค

8. อริฏฐสิกขาบท
ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เรื่องพระอริฏฐะ
[417] 1สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระ
อริฏฐะ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง2 ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”3
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถ

เชิงอรรถ :
1 วิ.จูฬ. 6/65/82-4, ม.มู. 12/234/196-199
2 คทฺธาธิปุพฺโพ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง อรรถกถาอธิบายว่า คทฺเธ พาธยึสูติ คทฺธพาธิโน,
คทฺธพาธิโน ปุพฺพปุริสา อสฺสาติ คทฺธพาธิปุพฺโพ. ...คิชฺฌฆาฏกกุลปฺปสูตสฺส พรานฆ่านกแร้งเป็นบรรพ
บุรุษของเขา เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง หมายความว่า เป็นคนเกิดใน
ตระกูลพรานฆ่านกแร้ง (วิ.อ. 2/417/418)
3 พระอริฏฐะ รูปนี้เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก รู้แต่อันตรายิกธรรมบางส่วน เพราะเหตุที่ท่านไม่ฉลาดเรื่อง
วินัย จึงไม่รู้เรื่องอันตรายิกธรรมแห่งการล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ ดังนั้น ครั้งที่ท่านอยู่ในที่หลีกเร้นจึง
ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า พวกคฤหัสถ์ที่ยุ่งกี่ยวอยู่กับกามคุณ ที่เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็น
อนาคามีก็มี ส่วนพวกภิกษุก็ยังเห็นรูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ ฯลฯ ยังถูกต้องสิ่งสัมผัสที่จะพึงรู้ด้วยกาย ยังใช้
สอยผ้าปูผ้าห่มอ่อนนุ่ม สิ่งนี้ทั้งหมดถือว่าควร ทำไมรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของหญิงจะไม่ควร สิ่ง
เหล่านั้นต้องควรแน่นอน ท่านเกิดทิฏฐิบาปขึ้นมาแล้ว ขัดแย้งกับพระสัพพัญุตญาณว่า “ทำไมพระผู้มี
พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติปฐมปาราชิกอย่างกวดขัน ประดุจกั้นมหาสมุทรฉะนั้น ในข้อนี้ไม่มีโทษ” ตัด
ความหวังของเหล่าภัพพบุคคล คัดค้านพระเวสารัชญาณ ใส่ตอและหนามในอริยมรรค ประหารอาณาจักร
ของพระชินเจ้าด้วยกล่าวว่า “เมถุนธรรม ไม่มีโทษ” (วิ.อ. 2/417/418-419, ม.มู.อ. 2/234/9-10)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :525 }