เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 3.อุกโกฏนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[393] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง เพื่อ
พิจารณาใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[394] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอก
ที่ชื่อว่า อย่างถูกต้อง คือ อธิกรณ์ที่ตัดสินโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 คือ (1) วิวาทาธิกรณ์ (2) อนุวาทาธิกรณ์
(3) อาปัตตาธิกรณ์ (4) กิจจาธิกรณ์
คำว่า รื้อฟื้น...เพื่อพิจารณาใหม่ คือ ภิกษุรื้อฟื้นด้วยกล่าวว่า “กรรมยัง
ไม่ได้ทำ กรรมทำไม่ดี พึงทำใหม่ กรรมนั้นยังไม่ได้ตัดสิน กรรมนั้นตัดสินไม่ดี พึง
ตัดสินใหม่” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[395] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง รื้อฟื้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ รื้อฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง รื้อฟื้น ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :507 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 3.อุกโกฏนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[396] 1. ภิกษุรู้ว่า “กรรมนั้นทำไม่ถูกต้อง แยกกันทำหรือทำแก่ผู้ไม่ควร
แก่กรรม” จึงรื้อฟื้น
2. ภิกษุวิกลจริต
3. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุกโกฏนสิกขาบทที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :508 }