เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 1.สัญจิจจสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[383] ก็ ภิกษุใดจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[384] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน
คำว่า ปลงชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[385] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ปลงชีวิต ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ปลงชีวิต ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ปลงชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :502 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 7.สัปปาณกวรรค 1.สัญจิจจสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[386] 1. ภิกษุไม่จงใจจะปลงชีวิตสัตว์
2. ภิกษุไม่มีสติปลงชีวิตสัตว์
3. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว
4. ภิกษุไม่ประสงค์จะฆ่า
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

สัญจิจจสิกขาบทที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :503 }