เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 9.วิกัปปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
6. สุราปานวรรค

9. วิกัปปนสิกขาบท
ว่าด้วยการวิกัปปจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[372] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัป1
จีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกันแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้
ปัจจุทธรณ์2 ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “ท่านทั้งหลาย
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่กระผมแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้
ปัจจุทธรณ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้
ปัจจุธรณ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอวิกับจีวรด้วยตน

เชิงอรรถ :
1 วิกัป เป็นวินัยกรรม คือวิธีการทางพระวินัย เพื่อป้องกันอาบัติ ตามปกติภิกษุจะใช้สอยผ้านุ่งห่มเพียง
3 ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ ผ้าอันตรวาสก ผ้านอกจากนี้เรียกว่า ผ้าอติเรกจีวร เก็บไว้ใช้สอยได้
ไม่เกิน 10 วัน ถ้าต้องการจะใช้สอยตลอดไป ต้องวิกัป คือ ยกให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ที่
รับไป ต้องให้คืนไว้ใช้สอย นี้เป็นวินัยกรรม ในกรณีนี้ถ้าเป็นสมัยจีวรกาล ไม่ต้องวิกัป ใช้ได้ตลอดจน
กว่าจะหมดจีวรกาล (ดู นิสสัคคีย์ สิกขาบทที่ 1 ข้อ 460-470 หน้า 2-8 ในเล่มนี้ และ วิ.ม. 5/
358/160, วิ.อ. 2/469/146-155)
2 คำว่า “ปัจจุทธรณ์” แปลว่า ถอนคืน คือถอนผ้าที่วิกัปไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :493 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 9.วิกัปปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้
ปัจจุทธรณ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[373] ก็ ภิกษุใดวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่
สิกขมานา หรือแก่สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[374] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ ภิกษุรูปอื่น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีที่อุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ศึกษาสิกขาธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปี
ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท 10 ข้อ
ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท 10 ข้อ
คำว่า ด้วยตนเอง คือ วิกัปเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :494 }