เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 7.นหานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินกว่า ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[366] 1. ภิกษุอาบน้ำในสมัย
2. ภิกษุอาบน้ำช่วงครึ่งเดือน
3. ภิกษุอาบน้ำช่วงเกินกว่าครึ่งเดือน
4. ภิกษุผู้ข้ามฝั่งจึงอาบน้ำ
5. ภิกษุอาบน้ำในปัจจันตชนบททุกแห่ง
6. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
7. ภิกษุวิกลจริต
8. ภิกษุต้นบัญญัติ

นหานสิกขาบทที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :489 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 8.ทุพพัณณกรณสิกขาบท นิทานวัตถุ
6. สุราปานวรรค

8. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี

เรื่องภิกษุหลายรูป
[367] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุและปริพาชกจำนวนมาก
ต่างเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทาง โจรทั้งหลายออกมา
ปล้น พวกเจ้าหน้าที่ในกรุงสาวัตถีจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมของกลาง จึงส่งข่าวถึง
ภิกษุทั้งหลายว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ามาเถิด ถ้าจำได้ นิมนต์รับเอาจีวรของตน ๆ
คืนไป” ภิกษุทั้งหลายจำจีวรของตนไม่ได้ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงจำจีวรของตนไม่ได้เล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
แสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุแล้วรับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้ง
หลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
1. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
2. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
ฯลฯ
10. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย1
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
1 ดู ข้อ 566 หน้า 92 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :490 }