เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 6.โชติกสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ผิงไฟได้
[351] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการไข้
ได้กล่าวกับพวกภิกษุเป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้
หรือ” พวกภิกษุตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมก่อไฟผิง ดังนั้นจึงมีความผาสุก
แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ผิงไฟ
ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระ
ภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ก่อ
ไฟหรือใช้ให้ก่อไฟผิงได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ตามประทีป
[352] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงการตามประทีปบ้าง การก่อไฟ
บ้าง การติดไฟในเรือนไฟบ้าง จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อไฟหรือ
ใช้ให้ก่อไฟเพราะมีเหตุผลที่สมควร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[353] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :480 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 6.โชติกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[354] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้เว้นจากไฟก็มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้เว้นจากไฟจะไม่มีความผาสุก
คำว่า ต้องการผิงไฟ คือ ต้องการให้ร่างกายอบอุ่น
ที่ชื่อว่า ไฟ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอัคคี
คำว่า ก่อ คือ ภิกษุก่อเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ก่อ คือ ภิกษุสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ก่อไฟหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น คือ ยกไว้แต่มีเหตุผลที่สมควร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[355] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :481 }