เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 6.สุราปานวรรค 4.อนาทริยสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[342] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ ความไม่เอื้อเฟื้อ 2 อย่าง คือ
(1) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล (2) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระ
บัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ผู้นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ถูกสงฆ์ดูหมิ่นหรือ
ถูกสงฆ์ตำหนิ คำพูดของผู้นี้ไม่น่าทำตาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วย
พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “จะทำอย่างไร ธรรมข้อนี้พึงเสื่อม พึงสูญ
หรือพึงอันตรธานไป” หรือว่าเธอไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[343] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุอันอุปสัมบันตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า
“เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ1 ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 อปจยายาติ สพฺพสฺสปิ วฏฺฏสฺส อปจยตฺถาย, นิพฺพานายาติ อตฺโถ ความไม่ก่อ คือ ไม่ก่อวัฏฏะ ได้แก่
เพื่อนิพพาน (สารตฺถ.ฏีกา 3/406/530)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :474 }