เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 8.อุยยุตตเสนาสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[313] อนึ่ง ภิกษุใดไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ นอกจากมีเหตุผล
ที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[314] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เคลื่อนขบวนออกรบ ได้แก่ กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านแล้ว
ตั้งค่ายพักแรมหรือเคลื่อนขบวนต่อไป
ที่ชื่อว่า กองทัพ ได้แก่ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
ช้าง 1 เชือก มีทหารประจำอยู่ 12 นาย ม้า 1 ตัว มีทหารประจำอยู่ 3
นาย รถ 1 คัน มีทหารประจำอยู่ 4 นาย พลเดินเท้ามีทหารแม่นธนู 4 นาย
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกจากมีเหตุผลที่สมควร คือ ยกเว้นเมื่อมีเหตุผลที่สมควร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[315] กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ไป
เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :453 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 8.อุยยุตตเสนาสิกขาบท อนาปัตติวาร
กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ไปเพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่
สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ไป
เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอยู่พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออก
รบ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[316] 1. ภิกษุยืนดูอยู่ในอาราม
2. ภิกษุดูกองทัพที่ยกผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ภิกษุ
นอน
3. ภิกษุเดินสวนทางไปเห็น
4. ภิกษุดูเมื่อมีเหตุผลที่สมควร
5. ภิกษุดูเมื่อคราวมีเหตุขัดข้อง
6. ภิกษุวิกลจริต
7. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุยยุตตเสนาสิกขาบทที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :454 }