เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 4.รโหปฏิจฉันนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[285] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคาม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[286] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง
โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะ
ขึ้น ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติได้
อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน
ม่าน ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทั้งภิกษุและมาตุคามนั่งหรือนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :432 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 4.รโหปฏิจฉันนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[287] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์
ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[288] 1. ภิกษุนั่งในที่ที่มีบุรุษรู้เดียงสาคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน
2. ภิกษุยืนไม่ได้นั่ง
3. ภิกษุไม่ได้มุ่งให้เป็นที่ลับ
4. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหปฏิจฉันนสิกขาบทที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :433 }