เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 2.อุยโยชนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า นิมนต์กลับ ความว่า ภิกษุปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะ
หยอกเย้า ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ หรือปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม
กล่าวนิมนต์กลับอย่างนี้ว่า “ท่านจงกลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่าน ไม่ทำให้เรา
สบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปถึงระยะที่มอง
ไม่เห็นหรือไม่ได้ยินเสียง ภิกษุรูปที่นิมนต์กลับต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปจนพ้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า มีเหตุผลเพียงเท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นเพื่อ
ส่งกลับ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[277] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุนิมนต์อนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :425 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 5.อเจลกวรรค 2.อุยโยชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[278] 1. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า เราสองรูปฉันด้วยกัน ภัตตาหาร
จะไม่พอ
2. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นพบของมีค่าแล้วจะเกิดความ
โลภ
3. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจะเกิดความ
กำหนัด
4. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยสั่งว่า เธอจงนำข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของ
เคี้ยวของฉันไปถวายภิกษุเป็นไข้ ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือภิกษุ
ผู้เฝ้าวิหาร
5. ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจารแต่มีธุระจำเป็นจึงส่งกลับ
6. ภิกษุวิกลจริต
7. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุยโยชนสิกขาบทที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :426 }