เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 6.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุชาวเมืองสาเกตกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก พวกกระผม
เป็นภิกษุ”
ภิกษุชาวกรุงสาวัตถีได้กล่าวกับพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน
ภิกษุเหล่านี้เถิด” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพระอุบาลีไต่สวน จึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ
ครั้นไต่สวนแล้ว พระอุบาลีแจ้งว่า “พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร
แก่พวกเธอ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเปลือยกายเดินมาเล่า ตามธรรมดาภิกษุต้องใช้หญ้าหรือใบไม้ปกปิดเดิน
มา มิใช่หรือ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร หรือจีวรหาย
ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ ถ้าวัดที่ภิกษุไปถึง
ก่อน มีจีวรประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ก็พึงถือเอา
ผ้าของสงฆ์ไปห่มโดยตั้งใจว่า ‘เมื่อเราได้จีวรแล้วจะนำมาคืน’ ดังนี้ก็ควร ถ้าไม่มีจีวร
ประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ควรใช้หญ้าหรือใบไม้
ปกปิดมา อนึ่ง ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[518] อนึ่ง ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้
ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุถูก
ชิงจีวรไป หรือจีวรสูญหาย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :42 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 6.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[519] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุถูกชิงจีวรไป ได้แก่ จีวรของภิกษุที่พระราชา โจร นักเลงหรือ
คนบางพวกชิงเอาไป
ที่ชื่อว่า จีวรสูญหาย ได้แก่ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ น้ำพัด หนูหรือปลวกกัด
หรือที่ใช้สอยจนเก่า
ภิกษุออกปากขอนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์
เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :43 }