เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 10.ทันตโปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ลักษณะการรับประเคน
ที่ชื่อว่า มีผู้ถวาย คือ (1) เขาถวายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ
ด้วยโยนให้ (2) เขาอยู่ในหัตถบาส (3) ภิกษุรับประเคนด้วยกายหรือด้วยของ
เนื่องด้วยกาย นี้ชื่อว่ามีผู้ถวาย
ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่ฉันได้ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่าอาหาร
คำว่า นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน คือ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน
ภิกษุถือเอาด้วยตั้งใจว่า จะเคี้ยว จะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[267] อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่รับประเคน ฉัน
อาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันอาหารที่ไม่มีผู้ถวายให้ล่วง
ลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องปาจิตตีย์
อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ฉันอาหารที่ไม่มีผู้
ถวาย นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน ต้องอาบัติทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :416 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[268] 1. ภิกษุใช้น้ำและไม้ชำระฟัน
2. ภิกษุหยิบยามหาวิกัติ 4 ฉันเอง1 เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ในเมื่อ
ไม่มีกัปปิยการกถวาย
3. ภิกษุวิกลจริต
4. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทันตโปนสิกขาบทที่ 10 จบ
โภชนวรรคที่ 4 จบ

รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค
โภชนวรรคมี 10 สิกขาบท คือ

1. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
2. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
3. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
4. กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา
5. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ 1
6. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ 2
7. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
8. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
9. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต
10. ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำ
และไม้ชำระฟัน


เชิงอรรถ :
1 ยามหาวิกัติ 4 คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน (วิ.ม. 5/268/36) ภิกษุอาพาธหรือถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย หยิบฉัน
ได้โดยไม่ต้องรับประเคน ถ้าไม่อาพาธก็ควรจะรับประเคน (วิ.อ. 3/268/175)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :417 }