เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 8.สันนิธิการกสิกขาบท บทภาชนีย์
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[253] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[254] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของที่เก็บสะสมไว้ คือ ของที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้แล้วฉันในวันอื่น
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ 5 ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ 5 คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ
ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[255] ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :408 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 8.สันนิธิการกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เป็นของเก็บสะสมไว้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[256] 1. ภิกษุเก็บของที่เป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล
2. ภิกษุเก็บของที่เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม1
3. ภิกษุเก็บของที่เป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์
4. ภิกษุฉันของที่เป็นยาวชีวิกเมื่อมีเหตุผลสมควร
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

สันนิธิการกสิกขาบทที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ชั่วกาล คือชั่วเวลาเที่ยงวัน,ชั่วยาม คือชั่วปัจฉิมยาม (วิ.อ. 2/256/378, ดูเชิงอรรถ ข้อ 239 หน้า 396)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :409 }