เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 5.ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เดนภิกษุผู้เป็นไข้และภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายพึงทำภัตตาหารให้เป็นเดนด้วย
การกล่าวอย่างนี้ว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[238] อนึ่ง ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน1 ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน จบ

สิกขาบทวิภังค์
[239] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ 5 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดย
ที่สุดแม้ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ

ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (1) ภิกษุกำลังฉัน (2) ทายกนำโภชนะมา
ถวาย (3) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (4) ภิกษุบอกห้าม

เชิงอรรถ :
1 อนติริตฺตํ โภชนะที่ไม่เป็นเดน, โภชนะที่ไม่เหลือเฟือ, โภชนะที่ยังมิได้ทำอติเรกวินัย คือพระวินัยธรยังมิ
ได้ทำให้เป็นเดนว่า “อลเมตํ สพฺพํ ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (วิ.อ. 2/366, วชิร.ฏีกา 408), อติเรโก โหตีติ
อติริตฺโต โหติ อติริตฺต ที่เป็นเดน หมายถึงเหลือเฟือ (ปฏิสํ.อ. 2/307) อนติริตฺต ที่ไม่เป็นเดน จึง
หมายถึงไม่เหลือเฟือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :395 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 5.ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (1) ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (2) ของ
ที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน (3) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (4) ของที่อยู่นอก
หัตถบาส (5) ของที่ภิกษุยังมิได้ฉัน (6) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก
อาสนะแล้ว (7) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (8) ของไม่เป็น
เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน

ของที่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่เป็นเดน คือ (1) ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว (2) ของที่ภิกษุ
รับประเคนแล้ว (3) ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว (4) ของที่อยู่ในหัตถบาส (5) ของ
ที่ภิกษุฉันแล้ว (6) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม แต่ยังไม่ลุกจากอาสนะ (7) ของที่
ภิกษุกล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (8) ของเป็นเดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่เป็นเดน

ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ 5 1ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว

เชิงอรรถ :
1 ยามกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งก่อนอรุณของวันใหม่ คือ นํ้าปานะ ได้แก่
นํ้าคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต 8 อย่าง คือ (1) อัมพปานะ นํ้ามะม่วง (2) ชัมพุปานะ นํ้าหว้า (3) โจจปานะ
นํ้ากล้วยมีเมล็ด (4) โมจปานะ นํ้ากล้วยไม่มีเมล็ด (5) มธุกปานะ นํ้ามะทราง (6) มุททิกปานะ นํ้าผล
จันทน์หรือนํ้าองุ่น (7) สาลูกปานะ นํ้าเหง้าบัว (8) ผารุสกปาน นํ้าผลมะปรางหรือนํ้าลิ้นจี่ และนํ้าผลไม้
ทุกชนิด เว้นนํ้าต้มเมล็ดข้าวเปลือก, นํ้าใบไม้ทุกชนิด เว้นนํ้าผักดอง, นํ้าดอกไม้ทุกชนิด เว้นนํ้าดอกมะทราง,
นํ้าอ้อยสด ฉันได้ (วิ.ม. 5/300/84, วิ.อ. 2/255-6/378)
สัตตาหกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน 7 วัน คือ เภสัชทั้ง 5 ได้แก่ (1) สัปปิ เนยใส
(2) นวนีตะ เนยข้น (3) เตละ นํ้ามัน (4) มธุ นํ้าผึ้ง (5) ผาณิต นํ้าอ้อย (วิ.ม. 5/260/27)
ยาวชีวิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไป ไม่จำกัดเวลา คือ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา ได้แก่
หลิททะ ขมิ้น, สิงคิเวระ ขิง, วจะ ว่านนํ้า, วจัตถะ ว่านเปราะ, อติวิสะ อุตพิด, กฏุกโรหิณี ข่า, อุสีระ
แฝก, ภัททมุตตกะ แห้วหมู เป็นต้น (วิ.ม. 5/263/29) ดูเชิงอรรถ ข้อ 256 หน้า 409

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :396 }