เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 4.กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ
แม้ครั้งที่ 3 สามีของนางกาณาก็ได้ส่งข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด
กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ หากกาณาไม่กลับ ฉันจะพาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา”
แม้ครั้งที่ 3 มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดูกระไร
อยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้ามาถึง
บ้านมารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้
ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป
ครั้งนั้น สามีของนางกาณาได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นางกาณาได้ทราบข่าว
ว่าสามีของตนได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา จึงได้ยืนร้องไห้
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เสด็จไปถึงบ้านของอุบาสิกามารดาของนางกาณา ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาจัดถวาย
ลำดับนั้น มารดาของนางกาณาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงอาสนะ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กับมารดาของนางกาณาผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “นางกาณาร้องไห้ทำไม” อุบาสิกา
มารดาของนางกาณาจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรง ชี้แจงให้มารดาของนางกาณาเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จไป
เรื่องอุบาสิกามารดาของนางกาณา จบ

เรื่องพ่อค้าเกวียน
[231] สมัยนั้น พ่อค้าเกวียนกลุ่มหนึ่งต้องการจะเดินทางจากกรุงราชคฤห์
ไปถิ่นย้อนแสง1 ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตถึงหมู่เกวียน

เชิงอรรถ :
1 ปฏิยาโลกํ ถิ่นย้อนแสง คือ สูริยาโลกสฺส ปฏิมุขํ ย้อนแสงตะวัน ได้แก่ ปจฺฉิมทิสํ ทิศตะวันตก (วิ.อ.
2/407/417)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :388 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 4.กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ
อุบาสกคนหนึ่งได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น
อุบาสกได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น อุบาสก
ก็ได้ให้ถวายข้าวตูแม้แก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งเสบียงที่จัดไว้หมดสิ้นไป
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นได้กล่าวกับพวกพ่อค้าดังนี้ว่า “วันนี้ พวกท่านโปรดรอก่อน
เสบียงที่จัดเตรียมไว้กระผมถวายพระคุณเจ้าทั้งหลายไปแล้ว กระผมจะจัดเตรียมเสบียง”
พวกพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า “ท่านครับ พวกเราไม่สามารถจะรอได้ พ่อค้า
เกวียนออกเดินทางแล้ว” ได้ไปแล้ว
เมื่ออุบาสกจัดเตรียมเสบียงเสร็จแล้วเดินทางไปภายหลังจึงถูกพวกโจรปล้น
พวกพ่อค้าพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงรับโดยไม่รู้ประมาณ อุบาสกคนนี้ซึ่งเมื่อถวายเสบียงแก่พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้แล้วเดินทางไปภายหลังได้ถูกโจรปล้น”
พวกภิกษุได้ยินพวกพ่อค้าตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
1. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
2. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
ฯลฯ
10. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย1
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
1 ดูความพิสดาร ข้อ 566 หน้า 92 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :389 }