เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 5. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[514] 1. ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ
2. ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาของที่มีค่าน้อยแลกกับของมีค่ามาก
หรือเอาของที่มีค่ามากแลกกับของมีค่าน้อย
3. ภิกษุถือวิสาสะเอามา
4. ภิกษุขอยืมจีวร
5. ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร
6. ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา
7. ภิกษุรับจีวรของสามเณรี
8. ภิกษุวิกลจริต
9. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรปฏิคคหณสิกขาบทที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :38 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [4.นิสสัคคิยกัณฑ์] 1.จีรวรรค 6.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
1. จีวรวรรค

6. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[515] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เชี่ยวชาญการแสดงธรรมีกถา บุตรเศรษฐีคนหนึ่งเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
จึงไหว้ท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงให้บุตร
เศรษฐีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา1
บุตรเศรษฐีนั้นอันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วจึงปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงบอก
ปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ท่านต้องการ
ซึ่งกระผมพอจะจัดหามาถวายได้”

เชิงอรรถ :
1 เรียกว่า ลีลาการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 คือ (1) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (2) สมาทปนา ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ (3) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (4) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง (มาในบาลีมากแห่ง วิ.มหา. 1/22-24,290/13-4,222, วิ.ภิกฺขุนี. 3/783/72-3,
วิ.ม. 4/29,89-90,105,132,137/25,106-7,120,146,150, วิ.ม. 5/270,276,280-1, 288,
294,298,337/38,45,50,52,65,74,81,139, วิ.จู. 6/33,192/43-4,225, วิ.จู. 7/260,
268-9,404,445/21,33-4,237,282, ที.สี. 9/344,358/140,150, ที.ม. 10/161-2,
194/87-9,117-8, ที.ปา. 11/34,299/22,189, ม.มู. 12/252,255-6,289/215-217,
253-4, ม.ม. 13/22,285,371/18,261,355, สํ.ส. 15/152-3,155,185,241/135-8,187,
253, สํ.นิ. 16/241/265, สํ.ข. 17/81/77, สํ.สฬา. 18/133/114, องฺ.อฏฺฐก-นวก. 23/12,24,
78,4/156,180,273,296, องฺ.ทสก. 24/93/152, ขุ.อุ. 25/61,71-5/203,212-5, ขุ.อิติ.
25/104/323)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :39 }