เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโอวาสวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
โอวาทวรรคมี 10 สิกขาบท คือ

1. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
2. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวง
อาทิตย์อัสดงแล้ว
3. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
4. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
5. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
6. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
7. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
8. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
9. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม
10. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :364 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 4.โภชนวรรค 1.อาวสถปิณฑสิกขาบท นิทานวัตถุ
4. โภชนวรรค
หมวดว่าด้วยโภชนะ

1. อาวสถปิณฑสิกขาบท1
ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[203] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในที่ไม่ไกลกรุงสาวัตถี มีสมาคม
หนึ่งจัดตั้งภัตตาหารไว้ในที่พักแรม ในเวลาเช้า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก
แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่
พักแรม
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา
ครั้งนั้น แม้ในวันที่ 2 พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ฯลฯ แม้ในวันที่ 3 พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อ
ไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่พักแรม แล้วฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะกลับไปอารามทำไมกัน พรุ่งนี้ก็ต้องมาที่นี่อีก” จึง
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ พวกเดียรถีย์จึงพากันจากไป
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า ภัตตาหารในที่พักแรมเขา
ไม่ได้จัดไว้เพื่อท่านเหล่านี้เท่านั้น แต่ภัตตาหารในที่พักแรมเขาจัดไว้เพื่อสาธารณชน
ต่างหาก”

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “อาวสถ” ท่านอธิบายไว้ว่า “อาคนฺตฺวา วสนฺติ เอตฺถ อาคนฺตุกาติ อาวสโถ คือสถานที่สำหรับ
คนจรมาพักอาศัย (สารตฺถ.ฏีกา 3/285/369), อาวสโถ นาม กวาฏพทฺโธ วุจฺจติ ท่านหมายเอาที่พัก
อาศัยติดบานประตู (วิ.ภิกฺขุนี. 3/1010/149), อาวสถนฺติ กวาฏพทฺธวิหารํ ที่พักอาศัย คือที่พักอาศัย
ติดบานประตู (กงฺขา.อ. 387)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :365 }