เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 10.รโหนิสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[200] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับภิกษุณี
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้น
ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติ
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้กัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[201] เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองนั่งใกล้หรือนอนใกล้กัน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :362 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 10.รโหนิสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[202] 1. ภิกษุมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
2. ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง
3. ภิกษุไม่ได้มุ่งว่าเป็นที่ลับ
4. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
5. ภิกษุวิกลจริต
6. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ 10 จบ

โอวาทวรรคที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :363 }