เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 3.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป
ต่อมาพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีเป็นไข้ได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[160] อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุณีเป็นไข้ นี้เป็นสมัย
ในข้อนั้น
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ

[161] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่สำนักภิกษุณี ได้แก่ สถานที่ที่ภิกษุณีพักแม้คืนเดียว
คำว่า เข้าไป คือ ไปในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม 8 อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีเป็นไข้ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาทหรือร่วม
ประชุมได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :332 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 3.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[162] อุปสัมบัน1 ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว
สั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน2 เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอก
สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[163] 1. ภิกษุสอนในสมัย
2. ภิกษุให้อุทเทส
3. ภิกษุให้ปริปุจฉา

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุณี
2 คือสำคัญว่ามิใช่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :333 }