เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 1.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์แต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉาน
กถา แล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ 8 อย่าง เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี คือ

คุณสมบัติของภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี 8 อย่าง
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
เห็นภัยในความผิดแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ (จำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา) สั่งสมสุตะ (สั่งสมสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมา) เธอได้ยินได้ฟังธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด อันประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบ
ถ้วน บริบูรณ์มาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ
3. เป็นผู้ชำนาญปาติโมกข์ทั้งสอง แจกแจงได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว วินิจฉัยได้
เรียบร้อยทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ1
4. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย มีเสียงไพเราะ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “โดยสูตร” ในที่นี้หมายถึงคัมภีร์ขันธกะและบริวารแห่งพระวินัยปิฎก คำว่า “อนุพยัญชนะ” คือ
บทอักษรบริบูรณ์ไม่ตกหล่น (วิ.อ. 2/154-7/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :320 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 3.โอวาทวรรค 1.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
5. เป็นที่นิยมชมชอบของพวกภิกษุณีโดยส่วนมาก
6. เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกภิกษุณีได้
7. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรมในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น1
8. เป็นผู้มีพรรษา 20 หรือเกินกว่า 20
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ 8 อย่างนี้ เป็นผู้สั่ง
สอนภิกษุณี”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[148] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแต่งตั้ง คือ สงฆ์ยังไม่ได้แต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรม
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ 2 ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม 8 อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ
[149] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ
ไว้ ชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งด้วย
ภิกษุณีทั้งหลายพึงไปที่นั้น แล้วไหว้ภิกษุนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
1 ในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ไม่เคยจับต้องกายกับภิกษุณี ไม่เคยประพฤติผิดทางประเวณีกับสิกขมานา
หรือสามเณรี (วิ.อ. 2/145-147/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :321 }